X

AEON THAI MOBILE
AEON Thana Sinsap (Thailand) PLC FREE -On The App Store

Open

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการของอิออน ลองเข้ามาตรวจสอบในส่วนนี้ เพราะอาจมีคำตอบที่ท่าน ต้องการทราบ หรือแม้ไม่มีข้อสงสัย ท่านสามารถเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้ได้

1. บัตรอิออนมีประเภทอะไรบ้าง


2. ดิจิทัล ยัวร์แคช คืออะไร?

    ดิจิทัล ยัวร์แคช คือ บริการสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน โดยไม่ต้องใช้บัตร สามารถใช้ บริการต่างๆในรูปแบบดิจิทัลผ่านทาง AEON THAI MOBILE Application ได้ทันที ที่อนุมัติวงเงิน
    1. โอนวงเงินสินเชื่อยัวร์แคชเข้าบัญชีพร้อมเพย์
    2. กดเงินสดโดยไม่ใช้บัตร ที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ
    3. ผ่อนสินค้าโดยไม่ใช้บัตร ด้วยสินเชื่ออิออนแฮปปี้ เพย์


3. สามารถสมัครบัตรผ่านช่องทางใดได้บ้าง


4. เอกสารประกอบการสมัครบัตรเครดิต ต้องใช้อะไรบ้าง

    1. สำเนาบัตรประชาชน
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน (หน้าแรกและหน้าที่มีชื่อผู้สมัคร) หรือ สำเนาใบขับขี่ หรือสำเนาบัตรข้าราชการ หรือ สำเนาบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือ สำเนาทะเบียนราษฎร์
    3. เอกสารยืนยันรายได้ อาทิ สลิปเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือนภายใน 3 เดือน ล่าสุด หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ของปีล่าสุด
    4. สำเนาบัญชีธนาคารหน้าแรก และย้อนหลัง 180 วัน
    5. กรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว สำเนาใบทะเบียนการค้า / สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท / หจก. (กรณีเป็นเจ้าของกิจการ)


5. การสมัครบัตรเครดิต บัตรสมาชิก และบริการสินเชื่อออนไลน์ผ่าน AEON THAI MOBILE Application คืออะไร?

    คือการสมัครบัตรผ่านกระบวนการยืนยันตัวตนผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสแกนใบหน้า และไม่ต้องเซ็นเอกสาร
    รายละเอียดเพิ่มเติม 


6. การสมัครบัตรผ่าน AEON THAI MOBILE Application ต้องเตรียมตัวอย่างไร?


7. การสมัครบัตรผ่าน AEON THAI MOBILE Application ต้องทำอย่างไร?


8. ข้อดีของการสมัครบัตรผ่าน AEON THAI MOBILE Application

    - ไม่ต้องเซ็นเอกสาร
    - ไม่ต้องไปสาขา
    - ไม่มีค่าบริการ


9. สินเชื่อเติมสุข มีคุณสมบัติอะไรบ้าง และต้องดำเนินการอย่างไร


10. ตรวจสอบสถานะการสมัคร ผลการอนุมัติ อย่างไร

    ทางบริษัทฯจะพิจารณาใบสมัครของท่านและจะทราบผลการพิจารณาสินเชื่อภายใน 3 วันทำการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเอกสาร (ภายใต้เงื่อนไขการพิจารณาของบริษัท)
    หากบัตรของท่านได้รับการอนุมัติทางบริษัทฯจะแจ้งให้ท่านทราบผ่านทาง SMS หรือท่านสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาสินเชื่อผ่าน AEON THAI MOBILE Application  และผ่านทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ (IVR) 0-2665-0123 กด 2 (ตลอด 24 ชั่วโมง)


11. การตรวจสอบผลการสมัครผ่าน AEON THAI MOBILE Application

    ลูกค้าใหม่ ไปที่เมนู ตรวจสอบผลการสมัคร 
    ลูกค้าสมาชิก ไปที่เมนู My Card >> My App 


12. กรณีเปิดการใช้งานบัตรเครดิต ต้องทำอย่างไร (เปิดบัตร/ ยืนยันบัตร)

    1. เปิดบัตรผ่าน AEON THAI MOBILE  Application
    2. ผ่านช่องทางเว็บไซต์ได้ที่ www.aeon.co.th
    https://www.aeon.co.th/memberservice/th/cardactivation
    3. เปิดบัตรผ่านทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ (IVR) เบอร์โทร 0-2665-0123 กด 2
    หมายเหตุ บัตรเครดิตจะสามารถใช้งานได้เมื่อมีการเปิดใช้งานบัตรที่สมบูรณ์แล้วเท่านั้น

     

     

    QR Code

    Activation_th.png

    หมายเหตุ บัตรเครดิตจะสามารถใช้งานได้เมื่อมีการเปิด ใช้งานบัตรที่สมบูรณ์แล้วเท่านั้น


13. อัตราดอกเบี้ย และ ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตอิออน เท่าไร

    1. ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน สำหรับเบิกเงินสดล่วงหน้า ซื้อสินค้าและบริการ 16% ต่อปี ( มีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2563 )
    2. ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดล่วงหน้า 3% ของยอดเงินที่เบิกถอน (ไม่รวม VAT 7%)
    **ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 


14. สามารถตรวจสอบวงเงินคงเหลือผ่านช่องทางใดได้บ้าง

    1. ผ่าน AEON THAI MOBILE Application
    2. ผ่านเว็บไซด์ www.aeon.co.th
    2. ผ่าน AEON LINE 
    3. ผ่านทางระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ  0-2665-0123 แล้วกด 1


15. ขอออกบริการสินเชื่อออนไลน์ ใหม่ ต้องทำอย่างไร

    1. ติดต่อที่สาขาอิออน
    2. ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า 0-2665-0123


16. อิออน แฮปปี้ แพลน คืออะไร

    โปรแกรมแบ่งชำระค่าใช้จ่ายรายการซื้อสินค้า และ/หรือการบริการที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต มาเป็นการแบ่งชำระรายเดือน เดือนละเท่าๆกัน ภายในวงเงินบัตรเครดิต ซึ่งจะไม่รวมถึงการเบิกเงินสดล่วงหน้า รายการใช้จ่ายที่เกิดจากวงเงินชั่วคราว สินเชื่อเงินกู้ ค่าปรับดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทุกประเภท


17. อิออน แฮปปี้ แพลน มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

    1. อัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก 
    2. ยอดซื้อสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป/รายการ
    3. ยอดชำระขั้นต่ำ 500 บาท/เดือน
    4. สามารถเลือกระยะเวลาแบ่งชำระ เป็น 3,6,9 และสูงสุด 10 เดือน
    5. เมื่อยืนยันทำรายการแล้วไม่สามารถยกเลิกได้


18. สามารถตรวจสอบคะแนนสะสมที่ได้รับจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างไร


19. สามารถแลกคะแนนสะสมผ่านช่องทางใดได้บ้าง

    1. ทำการแลกผ่าน AEON THAI MOBILE Application ที่เมนู Happy Reward
    2. ทำการแลกผ่าน เว็บไซต์ ที่เมนู AEON Happy Rewards
    ดำเนินการจัดส่งประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ นับจากวันที่บริษัทฯได้รับแบบฟอร์มคำสั่งการแลกของรางวัล


20. บัตรเครดิต ดิจิทัล อิออน เน็กซ์เจน คือ อะไร?

    คือ บริการบัตรเครดิต โดยไม่มีบัตรพลาสติก สามารถใช้ บริการต่างๆในรูปแบบดิจิทัลผ่านทาง AEON THAI MOBILE


21. คุณสมบัติของผู้สมัคร บัตรเครดิต ดิจิทัล อิออน เน็กซ์เจน?

    1. สำหรับผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
    2. อายุ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
    3. มีรายได้ (ฐานเงินเดือน) 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
    4. อายุการทำงาน 4 เดือนขึ้นไป
    *อายุการทำงานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป สำหรับพนักงานบริษัทประจำรายเดือน / ข้าราชการประจำ / พนักงานรัฐวิสาหกิจประจำ
    5. มีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ทั้งที่บ้าน, ที่ทำงาน และเบอร์โทรศัพท์มือถือ


22. วิธีสมัครและช่องทางการสมัครบัตรเครดิต ดิจิทัล อิออน เน็กซ์เจน ?

    สามารถสมัครได้ผ่าน AEON THAI MOBILE Application แบบแนบบเอกสาร (ไม่สามารถสมัครแบบ Second card ได้) รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.aeon.co.th/ndid/


23. บัตรเครดิต ดิจิทัล อิออน เน็กซ์เจน สมัครบัตรเสริมได้หรือไม่?

    ไม่สามารถสมัครบัตรเสริมได้


24. บัตรเครดิต ดิจิทัล อิออน เน็กซ์เจน ค่าธรรมเนียมแรกเข้า/ค่าธรรมเนียมรายปี?

    ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และฟรีค่าธรรมเนียมรายปี


25. บัตรเครดิต ดิจิทัล อิออน เน็กซ์เจน มีหมายเลขบัตรเหมือนบัตรเครดิตอื่นๆหรือไม่?

    สามารถตรวจสอบข้อมูลจำเพาะบัตรเพิ่มเติมผ่าน AEON THAI MOBILE
    • ชื่อผู้ถือบัตร
    • หมายเลขบัตร
    • วันหมดอายุ
    • รหัส CVV


26. ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ

    ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ (Dynamic Currency Conversion) คือ ค่าธรรมเนียมการใช้จ่ายผ่านบัตรฯในสกุลเงินบาทเพื่อทำการ ซื้อสินค้า บริการ และ/หรือ การกดเงินสดที่เป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ (รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศ) ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย/ยอดกดเงินสด

    ประเภทการทำรายการที่เข้าข่ายจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 1%

    ร้านค้าจะแสดงมูลค่าสินค้าเป็นสกุลเงินบาทซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้เห็นราคาสุทธิที่จะต้องจ่ายจริงก่อนตัดสินใจชำระค่าสินค้า

    ในกรณีซื้อสินค้าผ่านช่องทาง ออนไลน์ หรือ ผ่านทางโทรศัพท์ กับร้านค้าออนไลน์ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และอนุญาตให้มีการชำระเป็นสกุลเงินบาท จะเข้าข่ายในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้จ่าย 1% เพราะเสมือนเป็นการทำรายการของร้านค้าที่ต่างประเทศ

    ถึงแม้ว่าร้านค้าออนไลน์นั้นจะเป็น website ที่ลงท้ายด้วย “.co.th” และมีการแสดงราคาเป็นสกุลเงินบาทร้านค้าออนไลน์นั้นๆอาจจะมีการจดทะเบียนร้านค้าในต่างประเทศ หรือ มีกระบวนการจ่ายเงินที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ก็เข้าข่ายที่จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 1%

    หมายเหตุ: การที่ผู้ถือบัตรชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท (Dynamic Currency Conversion) อาจจะทำให้ราคาสินค้าที่ถูกเรียกเก็บ สูงกว่าการชำระเป็นสกุลเงินต่างประเทศ เนื่องจากร้านค้าอาจจะมีการใช้อัตราแลกเปลี่ยน (ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้า) ที่สูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เรียกเก็บโดยบริษัทผู้ออกบัตรเครดิต”

    การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าธรรมเนียมที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต เช่น VISA, Mastercard เรียกเก็บผ่านบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตในกรณีที่ผู้ถือบัตร มีการใช้จ่ายตามเงื่อนไขผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตกำหนด
    ผู้ถือบัตรควรทำการตรวจสอบกับร้านค้าโดยศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินและค่าธรรมเนียมก่อนซื้อสินค้า / บริการ

    กรณีลูกค้าจ่ายในร้านค้าผ่านเครื่องรูดบัตร EDC ของธนาคารพาณิชย์ไทย จะไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียมดังกล่าว

    กรณีผู้ถือบัตรกดเงินสดด้วยสกุลเงินบาทผ่านตู้ ATM ในต่างประเทศธนาคารจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า3% ของจำนวนเงินที่เบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต และ VAT7% ของค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสด และค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท 1% ของจำนวนเงินที่เบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิตเป็นสกุลเงินบาท

    กรณีผู้ถือบัตรทำรายการเบิกเงินสดผ่านเครื่อง ATM ในต่างประเทศ ผู้ถือบัตรอาจต้องชำระค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดระหว่างประเทศตามอัตราที่ธนาคารเจ้าของเครื่อง ATM นั้นๆกำหนด (Access Charge Fee)

    ตัวอย่างร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนร้านค้าในต่างประเทศ

    # Merchant # Merchant
    1 FACEBOOK 10 APPLE STORE / APPLE
    2 AGODA 11 TIKTOK ADS.
    3 TRIP.COM 12 JAPAN AIR LINES / JAL
    4 TIKTOK 13 PEERTRANSFER /FLYWIRE
    5 GOOGLE 14 SHEIN
    6 APPLE STORE / APPLE 15 ADOBE
    7 KLOOK 16 GOV.UK / UKVI
    8 NETFLIX 17 PLAYSTATION NETWORK
    9 VRBO/ EXPEDIA / HOTELS.COM 18 STEAM

     

    # Merchant # Merchant
    19 GOTOGATE 25 EVA AIRWAYS (BR) EVA AIR
    20 CHEAP TICKETS DE / NL 26 QATAR AIRWAYS / QATAR AIR
    21 BOOKING.COM 27 TAOBAO.COM
    22 ALIBABA.COM 28 AIR ASIA
    23 AIRBNB 29 EBAY
    24 AMAZON.COM / AMZN / AMAZON 30 SINGAPORE AIRLINES

     

    หมายเหตุ : รายชื่อร้านค้าเป็นเพียงตัวอย่างที่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของร้านค้า (ข้อมูล ณ เดือน พ.ค. 2567)

     

    คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

    คำถาม 1: DCC Fee (Dynamic Currency Conversion Fee) คืออะไร?
    คำตอบ 1: DCC fee คือ ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หรือ

    Dynamic Currency Conversion fee (DCC fee) ซึ่งเรียกเก็บสำหรับรายการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อชำระสินค้า บริการ และ/หรือ การกดเงินสดที่เป็นสกุลเงินบาท ที่ร้านค้าต่างประเทศ (รวมถึงร้านออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศ) ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย / ยอดกดเงินสด

    คำถาม 2: อัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียม?
    คำตอบ 2: บริษัทฯ จะเรียกเก็บ DCC Fee ในอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่ายที่ร้านค้าต่างประเทศหรือร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หรือยอดกดเงินสดที่ ATM ในต่างประเทศ

    ตัวอย่างที่ 1: จองโรงแรมทั้งในและต่างประเทศกับ เว็บไซต์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยชำระเป็นสกุลเงินบาทจำนวน 3,000 บาท จะมีการเรียกเก็บ DCC fee 1% ของยอด 3,000 บาท คือ 30 บาท เนื่องจากการจองโรงแรมในประเทศกับ website ในต่างประเทศ ก็จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
    ตัวอย่างที่ 2: ค่าบริการเติมเงินซื้อเกมร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศผ่าน app store จำนวน 100 บาท จะมีค่าธรรมเนียม DCC fee 1% ของยอด 100 บาท คือ 1 บาท

    คำถาม 3: วันที่มีผล?
    คำตอบ 3: บริษัทฯ ได้ประกาศผ่อนผันการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยจะเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด (จากเดิมที่มีกำหนดเริ่ม 1 พฤษภาคม 2567) เพื่อให้ลูกค้าได้ศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติม ทั้งนี้ บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งก่อนมีการเรียกเก็บจริง

    คำถาม 4: ทำไมต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ?
    คำตอบ 4: การคิดค่าธรรมเนียมเป็นส่วนที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิต เช่น VISA, Mastercard เรียกเก็บจากบริษัทผู้ออกบัตร ในกรณีที่ผู้ถือบัตรฯมีการใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตกำหนด

    คำถาม 5: วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมการใช้บัตรฯเป็นสกุลเงินบาท ณ ร้านค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ของ VISA, Mastercard
    คำตอบ 5: สำหรับ VISA และ Mastercard คิดอัตราร้อยละ 1 ของยอดใช้จ่าย/ยอดกดเงินสด

    คำถาม 6: สามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาทได้ วันไหน?
    คำตอบ 6: ลูกค้าสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมได้ ณ วันที่บันทึกรายการ (Posting Date)

    คำถาม 7: ค่าธรรมเนียมรายการใช้จ่ายในร้านค้าต่างประเทศด้วยสกุลเงินบาท จะถูกเรียกเก็บกับบัตรเครดิตประเภทใดบ้าง?
    คำตอบ 7: บัตรเครดิตวีซ่า และ มาสเตอร์การ์ดทุกประเภท รวมทั้งบัตรหลักและบัตรเสริม

    คำถาม 8: ค่าธรรมเนียม 1% คิดอย่างไร?
    คำตอบ 8: คิดค่าใช้จ่าย 1% จากยอดใช้จ่าย /ยอดกดเงินสด ผ่านบัตรเป็นสกุลเงินบาท โดยคิดจากยอด ณ วันที่บันทึกรายการใช้จ่าย

    คำถาม 9: การเก็บค่าธรรมเนียมรวมถึงร้านค้าประเภทไหนบ้าง?
    คำตอบ 9: ร้านค้าในต่างประเทศและเลือกชำระเป็นสกุลเงินบาท รวมถึงร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
    เช่น FACEBOOK, AGODA, TRIP.COM, TIK TOK, GOOGLE, APPLE.COM, KLOOK, NETFLIX,VEBO/EXPEDIA เป็นต้น (ข้อมูลร้านค้าตัวอย่าง ณ เดือน พฤษภาคม 2567 ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน ขึ้นอยู่กับร้านค้า)

    คำถาม 10: ประเภทการทำรายการที่เข้าข่ายจะถูกคิดค่าธรรมเนียม 1%
    คำตอบ 10: ร้านค้าจะแสดงมูลค่าสินค้าเป็นสกุลเงินบาทซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้เห็นราคาสุทธิที่จะต้องจ่ายจริงก่อนตัดสินใจชำระค่าสินค้า
    ในกรณีซื้อสินค้าผ่านช่องทาง online หรือ ผ่านทางโทรศัพท์ กับร้านค้าออนไลน์ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และอนุญาตให้มีการชำระเป็นสกุลเงินบาท จะเข้าข่ายในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้จ่าย 1% เนื่องจากถือว่าเป็นการทำรายการร้านค้าที่ต่างประเทศ
    ถึงแม้ว่าร้านค้าออนไลน์นั้นจะเป็น website ที่ลงท้ายด้วย “.co.th” และมีการแสดงราคาเป็นสกุลเงินบาทร้านค้าออนไลน์นั้นๆอาจจะมีการจดทะเบียนร้านค้าในต่างประเทศ หรือ มีกระบวนการจ่ายเงินที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ก็เข้าข่ายที่จะถูกคิดค่าธรรมเนียม 1%

    คำถาม 11: ธนาคารอื่นๆ มีการเลื่อนเหมือนกันหรือไม่
    คำตอบ 11: การเลื่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมนี้ได้ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ซึ่งเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่างชมรมบัตรเครดิต และธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) โดยบริษัทเองได้มีการปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด และรวมถึงสถาบันการเงินอื่นๆด้วยเช่นกัน