แนะแนววิธีการจัดการ สาระน่ารู้หรือเคล็ดลับดีๆในการใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงหลายๆเรื่องที่คุณไม่รู้มาก่อน มาอัพเดทกันก่อนใคร ที่นี่ ..
ทุกเรื่องบัตรเครดิตที่คุณควรรู้
💸ในยุคที่ค่าแรงยังคงสวนทางกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น การสร้างนิสัยการเงินที่ดีอาจช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินไม่ติดขัด แต่ถ้าคิดว่าวิธีนี้ยังไม่พออาจต้องเปลี่ยน ‘วิธีคิดเกี่ยวกับเงิน’ คู่กันไปด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งใจไว้ ดังนั้น เพื่อต้อนรับปี 2568 ที่กำลังจะมาถึงจะพามาดูว่า 5 แนวคิดเกี่ยวกับเงินที่ถูกมองข้ามไปแต่ช่วยให้การใช้จ่ายและการออมของคุณให้ดียิ่งขึ้น!
เวลากดจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆ มักจะมีคำถามว่า ‘บันทึกข้อมูลบัตรเครดิต/เดบิตไว้ไหม’ เป็นฟังก์ชันที่เพิ่มความสะดวกในการจ่ายเงินครั้งถัดไป แต่การจ่ายเงินง่ายอย่างนี้อาจทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
ลองเปลี่ยนเป็น ‘ไม่บันทึกข้อมูลบัตร’ แล้วใช้วิธีหยิบบัตรมากรอกข้อมูลเองทุกครั้ง เพื่อเพิ่มเวลาในการคิดว่าสินค้าที่กำลังจะซื้อจำเป็นจริงๆ ใช่ไหม หรือในอีกแง่คือการบันทึกข้อมูลของบัตรเอาไว้มีความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย
การใช้บัตรเครดิตไม่ได้แปลว่าคุณนำเงินในอนาคตมาใช้เสมอไป หากใช้ให้ถูกวิธี บัตรเครดิตสามารถเป็นตัวช่วยที่ดีในการบริหารเงิน เช่น การกระจายค่าใช้จ่ายแบบปลอดดอกเบี้ยตามรอบบัญชี ช่วยเพิ่มสภาพคล่องและลดความกดดันเรื่องการเงินในช่วงปลายเดือน นอกจากนี้ การสะสมคะแนนและสิทธิพิเศษ เช่น เครดิตเงินคืน ส่วนลดร้านค้า หรือการสะสมไมล์ ยังช่วยให้ทุกการใช้จ่ายคุ้มค่ามากขึ้น
สิ่งสำคัญคือการวางแผนการใช้บัตรเครดิตให้เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ เลือกใช้บัตรเครดิตกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและตรงกับไลฟ์สไตล์ เช่น ค่าเดินทาง ช้อปปิ้ง หรือร้านอาหาร และอย่าลืมจ่ายบิลตรงเวลาและเต็มจำนวนทุกเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยและรักษาประวัติทางการเงินที่ดี
ดังนั้น การใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัยไม่เพียงช่วยเพิ่มความสะดวก แต่ยังสร้างโอกาสในการขอสินเชื่อหรือบริการทางการเงินอื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย!
เป็นเรื่องปกติที่เวลาจะซื้อของสักอย่างก็จะมองราคาว่าเป็นตัวเลขที่รับได้ แต่ถ้าลองเปลี่ยนวิธีคิดในการซื้อของใหม่เป็น ‘ต้นทุนการซื้อในรูปของจำนวนชั่วโมงที่ต้องทำงาน (Manday) เพื่อหาเงินก้อนนั้น อาจจะทำให้คิดหนักมากขึ้นว่าจะซื้อของชิ้นนั้นเลยดีไหม
สมมติว่าอยากได้รองเท้าคู่ใหม่ราคา 5,000 บาท และมีรายได้ 500 บาทต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง เท่ากับว่าต้องทำงาน 10 ชั่วโมงเพื่อให้ได้รองเท้าคู่นั้น ดังนั้น ถ้าไม่อยากใช้เงินจนเกินความจำเป็น และมีรองเท้าที่ยังใช้ได้ดีอยู่ การตัดสินใจซื้ออาจดูไม่คุ้มค่ากับเวลาที่คุณต้องเสียไป
การออมเงินอัตโนมัติ คือการตั้งค่าให้เงินแต่ละส่วนถูกเก็บออมด้วยตัวเองเมื่อเงินเดือนออก และช่วยปรับนิสัยการออมให้มีวินัยมากขึ้น เช่น การตั้งค่าให้บัญชีเงินเดือนโอนเงินเข้าสู่บัญชีออมทรัพย์หรือกองทุนรวมโดยอัตโนมัติทุกเดือน หรือกำหนดให้มีการหักเงินจำนวนหนึ่งไปเก็บไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นต้น วิธีนี้จะช่วยให้คุณเอาชนะ Present Bias หรือแนวโน้มที่เรามักให้ความสำคัญกับความสุขปัจจุบันมากกว่าการเตรียมตัวสำหรับอนาคตนั่นเอง
สมัยนี้การมีโปรโมชันหรือโค้ดส่วนลด จะกระตุ้นให้คุณจ่ายเงินออกไปได้ไวขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดีเพราะช่วยประหยัดเงินไปได้เยอะจริงๆ แต่อีกมุมหนึ่งก็อาจจะกระทบกับสภาพคล่องทางการเงินในอนาคตได้ ลองให้เวลาตัวเองพิจารณา 30 วันก่อน เช่น
✔️ตัดสินใจก่อนซื้อว่าของสิ่งนั้นจำเป็นจริงไหม
✔️ตัดสินใจก่อนซื้อว่าอยากได้จริงๆ หรือเปล่า
ถ้าซื้อไปแล้วไม่กระทบการเงินก็ซื้อได้เลยครับ แต่ถ้าระหว่าง 30 วันคิดแล้วพบกับคำถามว่า จะซื้อจริงๆ ใช่ไหม เพราะถ้าซื้อไปอาจเดือดร้อนเรื่องเงินในเดือนหน้าแน่ เพราะเงินช็อต ก็ขอให้หยุดความคิดซื้อไว้ก่อนดีกว่า ดังนั้น กฎ 30 วันจะช่วยดึงสติการใช้จ่ายของคุณได้มากๆ
จะเห็นได้ว่า การบริหารการเงินในปี 2025 ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับการปรับมุมมองและพฤติกรรมการใช้จ่าย ลองนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูได้เลย เผื่อว่าจะช่วยให้คุณควบคุมการเงินในชีวิตประจำวันและสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้ดีขึ้น
อ่านบทความที่น่าสนใจ
ก่อน 30 ต้องรู้ 8 เคล็ดลับวางแผนการเงิน ให้เครดิตดี ชีวิตมั่นคง คลิก
วิธีเพิ่มวงเงินบัตรเครดิต เปลี่ยนวิธีใช้บัตรเครดิตยังไง ให้เครดิตปัง ! ไม่พลาด แม้เป็นมือใหม่ คลิก
อยากสมัครบัตรเครดิต แต่เครดิตไม่ดี เริ่มต้นใหม่ได้ ด้วยการเข้าใจ credit score คลิก